วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

Strategy: เล่น Futures ใช้กลยุทธอย่างไรดี

การเล่น futures ที่มี leverage หรืออัตราขยายกำไรขาดทุน ที่สูงกว่าการซื้อสินทรัพย์ปกติ การใช้ปัจจัยพื้นฐานของ สินทรัพย์อ้างอิงมักจะไม่เป็นที่นิยมใช้งานเนื่องจาก การเคลื่อนไหวของราคาบางครั้งก็อาจไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐาน หลายต่อหลายครั้งเป็นแค่อารมณ์ความรู้สึกของผู้คนที่รับรู้สถานการณ์ในขณะนั้นๆ แบบฉับพลันที่จะส่งผลต่อราคาอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น ความไม่สงบทางการเมือง การยุบสภา การก่อการร้าย เป็นต้น การใช้กลยุทธในเชิงเทคนิคน่าจะเป็นกลยุทธที่เหมาะสมและทันสถานการณ์มากกว่า บทความนำเสนอ กลยุทธที่ใช้ในการลงทุนหรือเล่น Futures ในลักษณะ directional trading  ที่ได้กำไรจากส่วนต่างราคา

Futures สามารถใช้เป็น เครื่องมือสำหรับ hedging trading เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงได้ โดยจะถือครองสถานะสวนทิศทางกันกับสินทรัพย์ที่ถืออยู่เช่น ถือหุ้นใน SET50 ก็มักจะ short S50 ถ้าราคาหุ้นใน SET50 ลดลง หรือมีทิศราคาลดลง สถานะ short จะสร้างกำไรมาทดแทนในหุ้นที่ราคาลดลง การทำ hedging มักจะกระทำใน port ขนาดใหญ่ ทำโดยสถาบันหรือกองทุนรวม นักลงทุนรายย่อยมักไม่นิยมทำเช่นนี้
Directional trading หรือการทำกำไรจากส่วนต่างราคา จะใช้ Technical analysis หรือการวิเคราะห์ทางกราฟเทคนิค , Systematic trading ใช้ระบบที่ออกแบบมาให้จัดการกับสถานะการณ์ต่างๆโดยมี model หรือ ต้นแบบที่ออกแบบไว้ล่วงหน้า ถ้าเกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไขก็จะปฏิบัติตาม แผนที่วางไว้ 
นักลงทุนรายย่อย นักวิเคราะห์ทางเทคนิค future มักจะนิยมทำ directional trading ด้วย Technical Analysis มากเพราะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย สร้างง่าย ซึ่งมักจะปรากฏในสื่อทั่วๆไป ทีวี วิทยุ บทวิเคราะห์ภาคเช้า

กลยุทธ(Strategy) จะเป็นการรวบรวมแผนการต่างๆไว้เป็นชุดที่สามารถเลือกมาใช้งานได้ตามความเหมาะสม โดยแผนการเหล่านั้นมักสร้างมาจาก ทฤษฎีที่รวบรวมมาจากประสบการณ์ของนักวิเคราะห์เอง ซึ่งแน่นอนที่ ทฤษฎีเหล่านั้นมักจะมาจากต่างประเทศ ในไทยจะไม่มีทฤษฎีที่คิดค้นขึ้นมาใช้เอง ส่วนมากจะแปลตำรา จากต่างประเทศโดยตรงแล้วนำมาบอกเล่า สอน ให้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะตลาดหลักทรัพย์ในไทยมีอายุน้อย ประมาณ 30 ที่ก่อตั้งมา, TFEX เองก็มีอายุประมาณ 10 ปี การสร้างองค์ความรู้จำเป็นต้อง import มาจากตลาดต่างประเทศที่เปิดทำการมามากกว่า 100 ปี

กลยุทธ(Strategy)

Technical Analysis การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค จะอาศัยการรวบรวม pattern ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต ทั้ง pattern ที่เกิดขึ้นในรูปแบบราคาเอง หรือ pattern ที่มาจาก indicator ซึ่งจะมีแบบที่ซับซ้อน และแบบง่าย , pattern เหล่านี้อาจมีหัวข้อได้ถึงหลักร้อยหัวข้อ ในแต่ละ pattern อาจมีรูปแบบชุดต่างๆได้หลายสิบแบบ pattern ที่ใช้วิเคราะห์จะสามารถมีได้ตั้งแต่
Elliott wave ที่มี pattern ถึง 8 รูปแบบหลัก ขาขึ้น impluse มี 5 คลื่น ขาลง correction มี 3 คลื่น และใน แต่ละคลื่นก็มีลักษณะ fractal ที่มี 8 รูปแบบย่อยประกอบกันขึ้นมาได้หลายระดับ ถ้าหาความน่าจะเป็นจาก pattern ปัจจุบัน ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ความน่าจะเป็นแม้จะตัดสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ออกได้เยอะ แต่ก็จะยังเหลือสิ่งที่น่าเกิดขึ้นได้อีกเป็นจำนวนมาก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ การเคลื่อนไหวของราคาจะไม่เคลื่อนไหวแบบชัดเจนตามทฤษฎี ราคาจะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ การตีความจะขึ้นกับนักวิเคราะห์ตีความว่าจะเหมือน pattern ใด
Reversal pattern, Continuous pattern รูปแบบกลับตัว รูปแบบต่อเนื่อง จะเป็นใช้ลักษณะทางเรขาคณิต สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นตัวกำหนดว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อเนื่องถ้ามีรูปแบบนี้เกิดขึ้นแล้ว เช่น สามเหลี่ยมถ้าเกิดราคา form ตัวคล้าย สามเหลี่ยม จุดเฝ้าระวังจะเป็นจุดที่ ราคา breakout ทะลุออกแนวสามเหลี่ยมให้ทำตามทิศทางที่ breakout นั้น สามเหลี่ยมโดยทฤษฎีจะเป็นรูปแบบ correction แบบนึงใน elliott wave , triangle correction ซึ่งมักจะเกิดขึ้นใน wave 4 หรือ wave B นั่นเอง
CandleStick pattern จะเป็น pattern ที่นำมาวิเคราะห์ การกลับตัวของราคาได้ โดยจะมี pattern รุปแบบของ candlestick ที่ใช้ราคาปิดเปิด ความยาวสั้นของ แท่งราคาเป็นต้นแบบว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อเนื่อง candlestick จะมีทั้ง reversal แล continuos มีประมาณ 50 -80 รูปแบบที่มีการบันทึกไว้ 

Indicator pattern , level  การใช้ indicator ผสมกับ pattern เช่น divergence ราคาทำ new low แต่ macd ไม่ new low ก็จะเป็น reversal pattern ราคาอาจจะย้อนกลับขึ้นได้ , หรือ rsi<30 ราคาได้มาถึงจุดที่ถูกมากแล้ว ราคาอาจวกกลับได้ เพราะ oversold
แนวรับแนวต้าน จาก pattern ที่เป็น continuous pattern จะมีช่วงราคานึงที่มีการกระจุกตัวของราคาจำนวนมาก แนวรับแนวต้านนั้นจะถือ เป็นจุดที่น่าสนใจ ซึ่งจะเป็นแบบที่ยอดนิยมที่นักวิเคราะห์มักกล่าวถึงในรายงานการวิเคราะห์ทุกเช้าที่จะเห็นสม่ำเสมอ

การวิเคราะห์ Technical Analysis จะใช้ pattern ในอดีตที่เคยบันทึกไว้ว่าถ้าเกิดรูปแบบที่เคยเกิดขึ้นแล้ว มีความน่าจะเป็นว่าจะเกิดอะไรถัดมา การเลือก pattern ใดมาใช้งานต้องขึ้นกับ ดุลยพินิจของนักวิเคราะห์เองว่า ปัจจุบันเกิด pattern อะไรขึ้น ก็จะสามารถทำนายได้ว่า อะไรจะเกิดตามมา สังเกตว่าจะใช้คำว่า "ทำนาย" "ความน่าจะเป็น" ซึ่งมีความหมายว่าอาจไม่เกิดขึ้นตามนั้นก็ได้ ถ้าไม่เกิดขึ้นการทำนายนั้นก็ไม่ได้มีความหมายอะไร
การแก้ไขของ TA คือมักจะให้จุด stop loss ที่ให้ ปิด สถานะเดิมทันที่เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งความเสียหายนั้นอาจมีขนาดร้ายแรง ถ้านักลงทุนเชื่อตามนักวิเคราะห์แนะนำ แต่ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วไม่ทำ stop loss ความเสียหายบางครั้งอาจถึงขั้นต้อง force close ได้เนื่องจากการวิเคราะห์แบบนี้ เป็นการทำนาย มักจะไม่ได้แม่นยำมาก บ่อยครั้งเกินครึ่งมีผลเท่ากับการเดา โดยเฉพาะแนวรับแนวต้าน ซึ่งตัวเลขที่ให้มาก็ไม่ได้มีความหมายว่าราคาจะหยุดที่แนวดังกล่าวได้ มีโอกาสที่จะเดาถูกที่แนวเหล่านั้น แต่ก็ไม่ได้ทำกำไรให้ได้อย่างต่อเนื่อง

การใช้ TA ในปัจจุบันที่ทำโดยนักวิเคราะห์มักจะให้ผลลัพธ์ที่เน้นไปทางการทำนายอนาคต โดยมีเหตุผลสนับสนุนจาก pattern ที่หยิบยกขึ้นมา ความแม่นยำของวิธีนี้จะขึ้นกับประสบการณ์นักวิเคราะห์ที่จะหยิบ pattern ที่จะมีผลมากที่สุด มีความน่าจะเป็นมากที่สุด หยิบมาใช้งาน ผลลัพธ์ ผลงานที่ออกมา ก็จะมีประสิทธิภาพดี แต่ในทางกลับกันถ้านักวิเคราะห์มีประสบการณ์น้อย ใช้ pattern ตามตำรา ซึ่งก็ไม่มีประสบการณ์แยกแยะได้พอว่า pattern นี้อาจใช้ไม่ได้ ผลงานที่ออกมา จะได้ผลลัพธ์ที่แย่กว่าการเดา

Systematic Trading ระบบซื้อขาย

เนื่องจาก การใช้ TA ที่มีความไม่ต่อเนื่องหรือ discretion analysis คือ ถ้านักวิเคราะห์ต่างคน ก็จะลงความเห็นต่างกัน หรือแม้จะคนเดียวกันแต่เวลาต่างกัน pattern เดิมก็อาจตีความต่างกันได้ แล้วแต่สภาพอารมณ์ของนักวิเคราะห์ สิ่งที่น่าเชื่อถือได้ ทำงานได้แบบเดิมในสภาวะใดๆ ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายเดิมจึงถูกสร้างขึ้นในลักษณะ systematic ที่มี input และสร้าง output ที่ผ่าน model ที่ออกแบบและทดสอบมาล่วงหน้า

คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด

model ที่ออกแบบล่วงหน้ามักจะสร้างมาจาก model ทางคณิตศาสตร์ที่สังเกตจากพฤติกรรมราคาและรวบรวมเป็น pattern ที่แปลงเป็น model ทางคณิตศาสตร์ได้ การรวบรวม pattern อาจเป็น pattern ทางราคา หรือ pattern จาก indicator ซึ่งก็เป็นลักษณะเดียวกับ TA แต่การเลือกใช้จะใช้ การทดสอบทางสถิติ หลักการออกแบบ ปรัชญา เป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ TA ไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้
การสร้าง system ที่ใช้ในการ trade จำเป็นต้องใช้ทั้งทฤษฎีที่รวบรวมจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอดีต และประสบการณ์จริงที่เกิดจากการ trade มาออกแบบให้มีจุดแข็ง และสามารถป้องกันจุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีการทดสอบทางสถิติ ตรวจสอบลักษณะระบบ ว่ามีหลักการ ปรัญชา เป้าหมายตรงตามต้องการหรือไม่ ผลลัพธ์จริงที่ออกมาแม้จะไม่ได้ค่าที่ต้องการตามสถิติในระยะสั้น แต่ถ้าใช้อย่างต่อเนื่องอย่างมีวินัย ผลลัพธ์จะมีค่าใกล้เคียงกับการ backtest อย่างมาก

การทำ systematic มักจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดค่า parameter ที่เป็น period เช่น ema(5) ema(20) การใช้ค่าที่ยอดนิยมอาจทำให้กำไรที่ต้องการไม่มากเท่ากับการ run simulate เปรียบเทียบ parameter ใดที่ให้กำไรสุงสุด แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง อาจไม่ได้กำไรสูงสุดเมื่อใช้งาน เพราะ เป็นการทดสอบในอดีต ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับอนาคต ในบางช่วงเวลาค่าที่ run simulate หรือ optimize มาให้กำไรได้สูงสุดกว่าค่า default มากแต่เมื่อเปลี่ยนช่วงเวลา บางทีให้ผลกำไรที่ย่ำแย่ได้
เหตุการณ์ optimize ดังกล่าวอาจแก้ไขได้โดยต้องกลับไปที่หลักการ ปรัชญา เป้าหมาย ของการออกแบบว่าต้องการกำไรสูงสุดจริงหรือไม่ หรือต้องการความสม่ำเสมอของกำไร แม้ไม่มากแต่ก็ไม่ทำให้มูลค่า port แกว่งมากเกินไป

การทดแทนนักวิเคราะห์ที่ใช้ TA โดยการเลือก pattern ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดด้วย systematic ที่ใช้ pattern เดิมซ้ำๆ อาจเป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อถือมากนัก แม้ systematic จะมีการทดสอบมาอย่างดี หลายรูปแบบ การกระทำซ้ำๆไม่น่าจะใช้งานได้ดีเหมือน TA ที่มีความยืดหยุ่นพลิกผันตามสถานการณ์ได้ แต่สิ่งที่ systematic ที่สามารถทำได้เหนือกว่านักวิเคราะห์คือความสม่ำเสมอ และความง่ายในการใช้งาน systematic อาจทำกำไรในบางช่วงที่ไม่มากเท่า TA ทำได้ แต่ก็มักจะให้ผลตอบแทนกำไรที่สม่ำเสมอ และเมื่อเกิน trend ขนาดใหญ่ systematic จะ detect จับ trend หรือกำไรขนาดใหญ่เหล่านั้นได้เสมอ ต่างจาก TA ที่อาจพลาดโอกาสเหล่านั้นได้เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอจากการเลือก pattern ของ TA นั่นเอง

การเลือกใช้ TA หรือ systematic trading ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักลงทุนว่ากลยุทธแบบใดเหมาะสม ตอบสนองความต้องการของนักลงทุนมากกว่า ความเชื่อ ความศรัธา อาจมีผลในการเลือกใช้กลยุทธใดๆ มากกว่าข้อเท็จจริงทางตัวเลขในอดีตได้ กลยุทธที่ใช้แล้วสบายใจ ไม่กังวลในการ trade มากนักอาจเหมาะสมกับนักลงทุนที่สุดก็เป็นได้

However beautiful the strategy, you should occasionally look at the results.
Winston Churchill


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น