Trading style เป็นวิถีของชุดความคิดที่มองธรรมชาติการเคลื่อนไหนของราคาที่ต่างกันออกไป เมื่อมุมมองแนวคิด ปรัชญา ต่างกันจะทำให้พฤติกรรม การสร้างแผน การกระทำแตกต่างกันออกไป และจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้ ต่างกันในสภาวะของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่สม่ำเสมอ
Counter Trend: ชาวสวน
มีแนวคิดหลักที่ว่า การเคลื่อนไหวของราคาจะอยู่ในกรอบ ด้านบนด้านล่าง โดยกรอบราคานั้นอาจอยู่ในแนวราบ แนวขนาน , แนวทะแยงขึ้น , แนวทะแยงลง โดยแนวคิดนี้มักจะใช้ลักษณะของ การตีเส้น trend line และเส้นคู่ขนาน ของ trend line เป็นกรอบราคาถ้าราคาได้ขึ้นไปสู่ระดับกรอบบน ก็จะมีแนวคิดว่า ราคาควรจะย้อนกลับลงไปในกรอบล่างเสมอ
เหตุการณ์จะเป็นแบบที่ยอดนิยมที่ใช้งานง่าย คือ ซื้อที่แนวรับ แล้วไปขายที่แนวต้าน open long ที่แนวรับ close long ที่แนวต้าน และในกรณีที่ active มาก ก็จะ open short ที่แนวต้าน เพื่อเพิ่มจำนวนรอบการ trade
เทคนิคที่ใช้นอกจากจะใช้ trend line เป็นตัวกำหนดราคาแนวรับแนวต้านได้แล้ว ก็ยังมักจะใช้ indicator แบบ oscillator , คำว่า oscillate มีความหมายว่าแกว่ง ให้นึกถึง เครื่องมือวัดคลื่นความถี่ที่เห็นในหนัง วิทยาศาตร์ ที่นักวิทยาศาตร์จะมีจอเส้นสีเขียว แกว่งขึ้นลงเป็นรูป sine wave ,oscillator นี้ก็ทำหน้าที่แบบเดียวกัน
oscillator indicator จะมีการคิดค้นจำนวนมากให้มาใช้งาน ที่นิยมมากจริงๆจะเป็น stochastic ที่แกว่งตามราคาขึ้นลงให้จังหวะเข้าออกได้
ชาวสวน จะเป็นคำย่อจากการ สวนทิศทางเดิมของราคา ราคาพุ่งลง ซื้อสวน ราคาขึ้น ขายสวน ทำตรงกันข้ามกับทิศทางเดิมนั่นเอง
แต่เนื่องจาก ราคาเมื่อไปถึงแนวต้าน หรือ stochastic ไปถึง overbought แล้วก็ไม่ได้มีความหมายว่าราคาจะเลี้ยวกลับ แบบจริงจัง ในปริมาณที่มาก ย้อนกลับลงไปที่จุดที่มา ในทุกๆครั้งที่เกิดขึ้น แต่ก็มีหลายครั้งที่ breakout แนวต้าน หรือ overbought ต่อเนื่องได้ การใช้สไตล์ ชาวสวน อาจสร้างความเสียหายที่ใหญ่หลวงได้ ถ้าขาดระบบป้องกันตัวที่ดี
การใช้ counter trend จึงมาคู่กับการทำ stop loss ที่กำหนดจุด loss exit ป้องกันความเสียหายดังกล่าว
การเล่นสไตล์ ชาวสวน นี้ จะสร้างรอบจำนวน trade จำนวนมาก เนื่องมาจากการกำหนด กรอบแนวรับแนวต้าน มักจะเป็นกรอบแคบ ต้องเปลี่ยนสถานะบ่อยครั้ง หรือ oscillator ที่ใช้มักจะแกว่งหลายรอบ ถ้าระบบที่ใช้งานมีประสิทธิภาพมากพอ มีกำไรรวม>ขาดทุนรวม การใช้วิธีนี้จำนวนรอบยิ่งมากจะยิ่งเพิ่มผลตอบแทนจำนวนมากให้ได้
Follow Trend: ชาวไล่
มีแนวคิดหลัก ทิศทางเดิมจะคงสภาพนั้นไปจนกว่าจะเปลี่ยนทิศทาง เมื่อเกิดทิศทางของราคาไม่ว่าจะขึ้นหรือลง แนวคิดนี้จะทำให้เกิดพฤติกรรม สันนิษฐานทุกการเคลื่อนไหว ต้องมีทิศทาง จะเปิดสถานะไปในทิศทางนั้น และถือครองจนมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าทิศทางเดิมได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงจะปิดสถานะไป
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด
ในสภาวะของตลาดจริงการเคลื่อนไหวของราคาจะไม่มีสภาพเป็นทิศทางที่ยาวนานทุกการเคลื่อนไหว จำนวนมากจะเคลื่อนไหว เป็นระยะราคาสั้นๆ แล้วเปลี่ยนทิศ จะมีจำนวนน้อยครั้งที่เคลื่อนไหวจะกลายเป็นทิศทางที่ยาวนาน กินเวลาทั้งราคาและเวลาที่มาก
แล้วแนวคิดนี้จะทำงานได้ดีได้เช่นไรถ้า จำนวนครั้งที่ผิด ขาดทุนมีจำนวนมากกว่า จำนวนครั้งที่กำไร คำตอบจะอยู่ที่ ขนาดของกำไรรวมที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดขาดทุนรวม เมื่อเกิดกำไรก็จะไปชดเชยส่วนที่ขาดทุนทั้งหมดได้
เทคนิคที่ใช้ระบุ trend จะมีทั้งการ break out trend line และ indicator , ในขณะที่เป็น trend จะยังครองถือครองสถานะเดิมต่อเนื่องไม่มีการเปลี่ยนสถานะ, เมื่อราคาข้าม trend line หรือ breakout จะเป็นจุดที่บอกถึงการสิ้นสุดของทิศทางเดิมให้เปลี่ยนสถานะนั่นเอง
indicator มักจะเป็น เส้นค่าเฉลี่ย moving average หรือ trailing stop (แบบ SAR, หรือ สร้างเองจากค่า low ซึ่งส่วนมากจะไม่เปิดเผย), เส้นค่าเฉลี่ยมักจะใช้ 2 เส้นค่าเฉลี่ยตัดกันโดยเส้นนึงยาวกว่า เส้นสั้น ค่าเฉลี่ยที่เกิดจาก MA จะเป็นตัวแทนของราคาในทิศทางเดิมถ้า เปลี่ยนทิศมากจนเกิด cross กับเส้นสั้นจะเป็นการบ่งบอกถึงทิศทางที่เปลี่ยนไปได้
ชาวไล่ (ไม่ใช่ไร่) เป็นคำย่อ มาจาก การไล่ราคา คือยิ่งแพงยิ่งซื้อ ถ้า breakout ข้ามแนวต้าน trendline ขึ้น หรือ bullish cross over MA จะ ซื้อ open long แล้ว break ลงหรือ bearish cross over จะขาย close long ในกรณีที่ active มากจะ open short ตามลงมา
bullish cross over MA, MA เส้นสั้นตัดเส้นยาวขึ้น ขาขึ้น
bearish cross over MA, MA เส้นสั้นตัดเส้นยาวลง ขาลง
เทคนิคการใช้ MA นอกจากจะใช้ 2 เส้นตัดกันก็ยังมีแบบ 3 เส้น หลายเส้นบางทีก็มากถึง 12 เส้น เช่น guppy MMA , Rainbow ทั้งนี้ขึ้นกับการออกแบบให้กรอง false signal ที่เกิดจากสภาพจริงของตลาดที่ส่วนมากเป็น trend สั้น ประสิทธิภาพการใช้ MA แบบใดเหมาะสม ดีกว่า ก็ต้องมีการทดสอบอย่างจริงจังว่าเหมาะกับธรรมชาติสินทรัพย์นั้นๆหรือไม่ ราคามีการเคลื่อนไหว sideway มากหรือ เป็น trend มากก็ต้องทดสอบก่อนการใช้งาน
เนื่องจากจะมี false entry หรือเข้าแล้วขาดทุนจำนวนบ่อยครั้งการมีกลไกป้องกัน เช่น stop loss หรือการวางเงินประกันที่เหมาะสมในกรณีของ TFEX ที่ วางเงินประกันแค่ IM แล้วเจอการขาดทุนจำนวนมากหลายครั้งติดต่อกัน เงินประกันจะไม่เพียงพอให้เปิดสัญญาต่อเนื่องได้ การคำนวณเงินลงทุนจริงจึงมีบทบาทที่สำคัญนอกจาก เทคนิคและสไตล์ ซึ่งก็คือการทำ Sizing ใน Money Management ที่จะหาขนาดเงินลงทุนที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถ trade ได้ต่อเนื่อง
การมี false entry จำนวนมาก ไม่ได้เกิดเฉพาะ ชาวไล่เท่านั้น ชาวสวน ก็จะเจอสภาพเดียวกันนี้ได้ แต่ชาวสวนเนื่องจากเล่นในระยะทางสั้นๆ ขนาด stop loss จะแคบสร้างความเสียหายได้น้อย แต่ก็ยังอันตรายถ้าระบบที่ใช้อยู่มีค่ากำไรคาดหวัง (expectancy) เป็นลบ หรือ เล่นไปเรื่อยๆจะขาดทุนจนหมดตัว การที่เพิ่มจำนวนรอบมากขึ้น ถ้าค่ากำไรคาดหวังเป็นลบก็คือการเร่งการทำลาย port นั่นเอง
ถ้าเทคนิคและระบบที่ใช้มีประสิทธิภาพดี การวางเงินประกันที่เหมาะสม ทนทานต่อการแกว่งของ port ทนทานต่อการมี false entry มีกำไรในจังหวะที่เหมาะสมในระยะยาว การ trade จะกลายเป็น trading business ธุรกิจการเทรด ที่สร้างความมั่งคั่งได้อย่างมั่นคง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น