วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

EMA 5 cross 10 day: ตัวอย่างการสร้าง signal ในพอร์ตระยะยาวที่ล้มเหลว

การสร้างสัญญาณซื้อขายหรือ signal เพื่อเป็นจุดในการเปิดปิดสัญญา มักจะหลีกหนีไม่พ้นการใช้ indicator สร้างสัญญาณซื้อขาย indicator จะมี 2 แบบที่นิยมใช้กันคือแบบแกว่ง oscillator เช่น stochastic, rsi ที่มีขอบเขต overbought oversold ซื้อมากเกินไป ขายมากเกินไป และแบบทิศทาง trend เช่น parabolic SAR, channel ในรูปแบบต่างๆ, เส้นค่าเฉลี่ย ในบทความจะยกตัวอย่างการใช้ EMA เป็นสัญญาณซื้อขาย พร้อมผลการทดสอบ system metric ที่ควรพิจารณา

การสร้าง systematic trading มีลักษณะที่ต้องทำอะไรซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดเข้าออก ขนาดสัญญา key entry สินทรัพย์ที่เลือก โดยไม่มีการทำนายคาดเดาอนาคตใดๆ ไม่มีการจับ pattern รูปแบบใดๆที่ต้องใช้นักวิเคราะห์มาตัดสินว่า pattern นี้เป็นแบบใด และจะเป็นแบบใดในอนาคต
แต่เป็นการสร้างสิ่งที่มี input และ output ที่เหมือนกันทุกครั้ง input ในที่นี้จะหมายถึงกลุ่มของราคา โดยที่ output เป็นจุดเข้า ออก entry exit หรือ open close สำหรับสินทรัพย์นั้นๆ

การที่จะทำ system เช่นนี้ได้ ก็เหมือนกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั่วไปซึ่งต้องมีการคิดค้นเป็นระบบ ตั้งแต่การสังเกต จัดรวบรวมข้อมูล ตีความ ตั้งสมมติฐาน ทดสอบ สรุป ประเมินผล และมีการบำรุงรักษา ตรวจสภาพความพร้อมของระบบ
ส่วนที่ดูจะเป็นการทำงานที่สำคัญ มักจะเห็นผลงานเมื่อสามารถ สร้าง signal entry exit ขึ้นมาสำเร็จ และสามารถนำไปทดสอบ backtest ได้ผลลัพธ์เชิงสถิติออกมา ซึ่งต้องทำผ่าน testable tools ที่สามารถสร้างกลยุทธได้ด้วยการ coding สร้าง indicator สร้างจุดเข้าออก และทำรายงานการทดสอบได ้ อย่าง Amibroker หรือ metastock ในบางครั้งถ้าขาดตัวเลขบางส่วนที่น่าสนใจ อาจต้องสร้าง tool ขึ้นมาประกอบเองใช้งานเพิ่มเติม

เมื่อผลลัพธ์ที่ได้จาก backtest report ก็จะมาถึงขั้นตอนใช้งานจริง ลงเงินลงทุนจริง และทำการจดบันทึกว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
โดยปกติ เมื่อใช้งานจริง ในระบบที่ออกแบบมาอย่างดี และได้ทดสอบในลักษณะของการเคลื่อนไหวของราคาที่ครบถ้วนที่มีลักษณะ ขาขึ้น ขาลง sideway ในแบบ quiet หรือ high volatile ถ้าทดสอบในการเคลื่อนไหวดังกล่าว การใช้งานจริงก็จะได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับการทดสอบ
อาจมีค่า slippage คือ signal ให้ราคาที่ผู้ใช้งานไม่สามารถ key ได้ที่ต้นทุนที่ signal กำหนด แต่ก็จะมีผลที่เล็กน้อยถ้าระบบ ออกแบบมาได้อย่างดี ที่ slippage เล็กน้อยไม่มีผลต่อผลตอบแทนโดยรวมมากนัก
อาจมีค่า commission ซึ่งโดยทั่วไปเราจะทราบล่วงหน้าว่าระบบที่เราเลือกใช้เป็นระบบแบบเล่นสั้น ที่สร้าง transaction จำนวนมากซึ่งจะมี commission จำนวนมาก ซึ่งต่างจากระบบที่ยาวนาน นานๆจะมี signal เกิดขึ้นที

บทความสร้างระบบอย่างง่าย ที่โดยทั่วไป ระบบในการเล่น TFEX ในพอร์ตระยะยาวมักจะทำเช่นนี้ และ Performance ก็มักจะใกล้เคียงกลยุทธในตัวอย่างนี้มากพอสมควร

EMA 5 Cross 10 day

กลยุทธนี้ใช้ timeframe day ทดสอบใน SET50 index future 2007-2013 7 ปี โดยมีกลยุทธอย่างง่ายดังนี้

Long: EMA 5 ตัด EMA 10 ขึ้น
Short: EMA 5 ตัด EMA 10 ลง

โดยถ้าถือสถานะ Long อยู่ แล้วระบบสั่ง Short จะทำการปิด Long แล้วเปิด Short
ถ้าถือสถาน Short ระบบสั่ง Long จะทำการปิด Short แล้วเปิด Long
โดยการทดสอบจะใช้ราคาปิดสิ้นวันในการเข้าออกไม่มี delay กลยุทธแบบนี้จะทำได้ใกล้เคียงความเป็นจริงคือเมื่อใกล้เวลาปิดตลาด TFEX ซึ่งปิดหลังตลาดหุ้น ก็จะ key ให้ใกล้เวลาปิดมากที่สุด ราคามักจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อใกล้เวลาปิดตลาด TFEX

ผลการทดสอบออกมาพบว่า ระบบทำกำไรสะสม Equity ได้มากถึง 309 จุดในปี 2011 แต่ผลสุดท้ายได้กำไรรวมเพียงแค่ 72 จุดเมื่อสิ้นปี 2013 (จุดละ 1000 บาท) โดยระบบมี %Win=38% ซึ่งเป็นลักษณะของ trend following ที่มีความแม่นยำไม่มากนัก
Max Profit =149 จุด กำไรขนาดใหญ่มาก Avg Wing=34 จุดซึ่งเป็นกำไรที่น่าพอใจ
แต่มี MDD Max Drawdrawn  มากถึง -298 จุด กำไรแค่ 72 แต่มีขนาดขาดทุนลึกมากถึงเกือบ -300 จุด

ระบบมี transaction 123 ใน 7 ปี ปีละประมาณ 17 transaction หรือ 1.4 transaction ต่อเดือน นานๆเกิด signal หน

ข้อน่าสังเกต ระบบมี Max Profit มากถึง 149 จุด และมี Avg Win =34 จุด ซึ่งถ้านำกำไรที่ได้เหล่านี้ไปโชว์ให้ผู้ที่ไม่รู้ มือใหม่ที่ไม่เข้าใจระบบ นำไปเปรียบเทียบกับการเล่น day trade ที่กำไรประมาณ 10 จุด จะสร้างความน่าตื่นเต้น ชวนให้คิดแบบบิดเบือนไปมาก ว่าระบบนี้เป็นระบบที่ดีจริงๆ
การเลือกแต่กำไรขนาดใหญ่มาโชว์ ด้วยการ post รูปกำไรขนาดใหญ่ ตาม web board ตาม facebook อาจเป็นลักษณะกำไรในระบบแบบนี้ก็เป็นได้ เพราะจะไม่มีระบบแบบใดเลย นอกจาก ระบบแบบ trend following ที่ทำกำไรได้เกิน 30 จุด ต่อครั้ง

ระบบแบบ trend following มักจะเป็นจุดชูประเด็นเรียกร้องความน่าสนใจในการใช้ระบบ หรือเพื่อการโฆษณาการเชิญชวนที่มักจะเลือก transaction ที่กำไรมาโชว์ แต่ไม่เคยที่จะโชว์เมื่อระบบมีปัญหา 
การสังเกตการ post โชว์พอร์ต โชว์กำไรจะพบว่า เป็นการ post ที่ไม่สม่ำเสมอ มีต้นทุนที่ไม่สม่ำเสมอ มีหลายต้นทุนหลายราคา มีหลายพอร์ต แต่สามารถ post กำไรขนาดใหญ่ได้ใน  1-3 เดือน เพราะ ปีนึงมี 17 transaction มี 6 transaction ที่กำไร จึงไม่ยากเลยที่จะเลือกกำไรขนาดใหญ่มา post โชว์ได้
และส่วนมากมักจะเลือกเส้นค่าเฉลี่ยที่หลายค่าจึงมีหลายต้นทุน เลือกเส้นค่าเฉลี่ยที่ทำกำไรมากหยิบมาโชว์ได้ไม่ยากถ้ามีหลายพอร์ต

การใช้งาน systematic trading จะเป็นไปในลักษณะที่คล้ายกับการทำธุรกิจปกติที่มีกำไรและขาดทุนต่อเนื่องสลับกันไป โดยระบบจะมีจุดแข็งจุดอ่อน ที่ออกแบบมารองรับเหตุการณ์ที่ควรจะเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ การใช้งานต่อเนื่องจะเป็นข้อดีที่เราอาจคาดการณ์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้จากธรรมชาติของระบบ แม้จะคาดการณ์ขนาดจริงๆ หรือทิศทางราคาได้ก็ตาม แต่ระบบจะมุ่งเข้าหาค่าผลตอบแทนค่านึงซึ่งสถิติจะเป็นสิ่งที่อธิบายได้ 
การที่กำไรในบางครั้งจะอธิบายเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริงไม่ได้

ปรับปรุงระบบ

ถ้ามีผู้ใดแนะนำให้ใช้ระบบนี้ เราคงตอบกลับไปว่า ไปเล่นให้กำไรแบบไม่ต้องเติมเงิน ค่อยมาคุยกันใหม่
เพราะระบบสร้างกำไรมาถึง 300 จุดแล้ว หยุด ไม่ทำกำไรมากขึ้น ซ้ำร้ายกำไรรวมลดลงถึง 72 จุด ถ้าเพิ่มจำนวนสัญญาในช่วงนี้ต้องเกิดสภาวะ margin call ได้อย่างแน่นอน
และจากจำนวน transaction ที่ 123 จะมีค่า commission ประมาณ 1 จุดต่อ 1 transaction กำไรที่ 72 จุดจะไม่เพียงพอเหลือเป็นกำไร เป็นแค่การเล่น TFEX เลี้ยงค่า comm ให้กับ marketing ได้เท่านั้น

ระบบ ema 5 cross 10 ที่มีประสิทธิภาพไม่ดีอย่างมาก ทำกำไรขึ้นไปถึง 300 จุดแล้วก็หยุดนิ่งจากนั้นกำไรก็ถดถอยเหลือเพียง 72 จุด โดยส่วนมากระบบจะกำไรวนเวียนอยู่ 200-300 จุด equity อยู่หลายปี เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้น ในปี 2013 ระบบก็ได้เปิดเผยหลักการที่มีจุดในระบบคือมีความ sensitive ต่อความผันผวนที่เปลี่ยนแปลงมากเกินไปนั่นเอง ระบบจึงไม่ทนทาน สร้าง MDD ที่ปกติ ก่อนปี 2013 จะอยู่ที่ประมาณ -100 จุด กลายเป็นเกือบ 300 จุด

ทางแก้ปัญหาเมื่อระบบมีความผันผวนสูงขึ้น อาจเพิ่ม filter เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว อาจเป็น EMA 25 หรือ EMA 50 filter ก่อนที่จะ open signal ใดๆ ก็จะลด false signal จำนวนมากลงได้ หรือ เปลี่ยน parameter ของเส้นค่าเฉลี่ย หรือ การเปลี่ยน timeframe จาก day เป็น timeframe อื่นอาจเป็น week 120min หรือ 60min แล้วแต่ผลการทดสอบจะออกมาในลักษณะที่สร้างความได้เปรียบมากเพียงใด

ระบบมีจุดอ่อนที่มีความ sensitive มาก หรือมีความทนทาน robust น้อย จะเจอลักษณะเช่นเดียวกันกับระบบ EMA 5x10 เพราะการเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทางจะเป็นศัตรูของ indicator แบบทิศทางแบบ EMA 5 ถ้าเกิด sideway ไม่ว่าจะ quiet หรือ high volatile  ก็จะสร้างความเสียหายแบบร้ายแรงให้ระบบได้ อาจทำให้เกิดการขาดทุนติดต่อกัน 8 ครั้งติด สร้างความเสียหายรวมได้มากถึง -100 จุด แค่ -30 ก็แทบจะอยากหยุดแล้ว

และนี่เป็นที่มาที่จะสร้างความเสียหายขึ้นรุนแรงถ้าผู้ลงทุนเผื่อขาดทุนไว้แค่ 20-30 จุดจากค่า IM แล้วเจอการขาดทุนต่อเนื่องขนาด -100 จุด ติดๆกัน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ Margin call ซึ่งจะพบเห็นได้บ่อยไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือนักลงทุนมือเก่าที่ชอบวางเงินสำรองไว้เพียงเล็กน้อย ต้องเติมเงิน

การพิจารณาว่าจะวางเงินสำรอง capital เผื่อไว้เพียงใดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ Money Management จะเป็นหัวข้อที่สำคัญที่ต้องออกแบบมาอย่างดีให้ระบบโดยรวมยังสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ในลักษณะที่ไม่ต้องเติมเงิน

สรุป

การใช้งานเทคนิคหรือ systematic ใดๆ นักลงทุนไม่ควรยินดี หรือมองแต่เพียงส่วนที่เป็นกำไรของระบบเมื่อระบบทำถูกต้องเพียงเท่านั้น ส่วนที่ระบบสร้างความเสียหายอาจเป็นส่วนที่สำคัญที่ต้องออกแบบให้ดีพอๆกับเมื่อมีโอกาสระบบต้องทำกำไร คำขวัญแบบ เมื่อมีกำไรต้องได้กำไรเยอะ เมื่อขาดทุนต้องขาดทุนน้อย อาจต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งไปถึงว่า กำไรรวมต้องชดเชยขาดทุนรวมได้ทั้งหมด การมองระบบจากการ post โชว์กำไรขนาดใหญ่ไม่กี่ครั้ง แม้จะมีให้เห็น 1-3 เดือนก็ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับระบบเลย การบันทึกกำไรขาดทุนในแต่ละเดือนจะเป็นเรื่องที่น่าเหมาะสมมากกว่า แม้จะไม่แสดง profile แบบละเอียด(เนื่องจากต้องปกปิด) แต่การบันทึกกำไรรวมเพียงเดือนละครั้งก็แสดงความสามารถ ความทนทานของระบบว่าสามารถเติบโตได้ในเวลาที่เหมาะสม หรือ รับมือกับความเสียหายได้มากน้อยเพียงใด ก็สามารถพิจารณาแยกแยะระบบดี ไม่ดีออกจากกันได้ง่าย วิธีการบันทึกกำไรขาดทุน รายเดือนก็เป็นวิธีที่นิยมแสดงความสามารถของ Hedge fund ทั่วโลกนิยมใช้กัน นานๆจะเห็น profile ที่เปิดเผยโดยละเอียด ซึ่งมักต้องมีการกลั่นกรองหลายชั้นจาก ผู้จัดการกองทุนเลือกมาแสดง เพราะ profile อาจสามารถประเมินได้ว่า Hedge fund เหล่านั้นใช้กลยุทธในกลุ่ใด

เนื่องจากความแพร่หลายในการใช้ systematic จะยังมีใช้กันน้อยในไทย การได้กำไรแบบหลายสิบจุดแล้ว post แสดงความยินดีในบางครั้งจะยังคงนิยมต่อไป แต่แทบจะไม่พบการ post แสดงพอร์ตที่ขาดทุนให้ได้เห็น และไม่สามารถคาดหวังการ post กำไรขาดทุนทุกครั้งได้อย่างแน่นอน การลงทุนในมุมมองเก็งกำไรจะถือว่ากำไรเป็นเรื่องโชคดีจึงต้องดีใจ แต่ถ้าขาดทุนเป็นเรื่องที่อยากจะลืม จึงเป็นเรื่องที่ไม่ต้องการเปิดเผย 
การใช้ systematic จะเป็นรูปแบบการทำธุรกิจแบบนึงที่มี business model ที่ต้องทำต่อเนื่องแตกต่างจากการพนันที่อาศัยโชค การกระตุ้นอารมณ์ร่วม อารมณ์ดีใจจะถูกกระตุ้นบ่อยครั้งเหมือนการเชียร์กีฬา ต้องอาศัยการคาดเดา แต่ systematic trading มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจธรรมดาที่ผู้ลงทุนรู้ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในลักษณะสามารถคาดการณ์ได้ อารมณ์ร่วมความดีใจ เสียใจ ยากที่จะเกิดขึ้นได้เพราะรู้อยู่แล้วว่าผลลัพธ์จะไปในทิศทางใด อารมณ์ที่เหวี่ยงไปมาแทบจะไม่เกิดขึ้น เป็นแค่การทำธุรกิจธรรมดา ที่สร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจ 

There are no secrets to success. It is the result of preparation, hard work, and learning from failure.
Colin Powell






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น